วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การเจริญมรณสติ



การเจริญมรณสติ คือ การระลึกถึงความตายบ่อยๆ เป็นการเตรียมใจรับมือกับความตายที่ดีที่สุด คือ การทำใจให้คุ้นชินกับความตายเป็นเบื้องแรก เพื่อให้เราสามารถทำใจให้คุ้นชินกับความตายได้ด้วยการระลึกนึกถึงความตาย อยู่เสมอ นั่นคือ "การเจริญมรณสติ" อยู่เป็นประจำ

การระลึกถึง ความตาย ก็เพื่อจะให้เกิดความไม่ประมาท จนเกิดความสลดใจ รู้สึกขึ้นในจิตจริงๆ ว่าตนเองจะต้องตายแน่ๆ แล้วเร่งขวนขวายในการทำความดี เตรียมตัวไว้ให้พร้อมแล้วอยู่เสมอกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับเราต่อไป ข้างหน้าไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น

วิธีการฝึกสมาธิ เบื้องต้น

วิธีการฝึกสมาธิ เบื้องต้น
สมาธิ คือ ความสงบ สบาย และความรู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่งที่มนุษย์สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนากำหนดเอาไว้เป็นข้อควรปฏิบัติ เพื่อการดำรงชีวิตทุกวันอย่างเป็นสุข ไม่ประมาท เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะ และปัญญา อันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ ดังวิธีปฏิบัติที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้เมตตาสั่งสอนไว้ดังนี้

บุญกิริยาวัตถุ 10



บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ  สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ ๑๐ ประการ

๑. ให้ทาน แบ่งปันผู้อื่นด้วยสิ่งของ ไม่ว่าจะให้ใครก็เป็นบุญ (ทานมัย)
การให้ทานเป็นการช่วยขัดเกลาความเห็นแก่ตัว ความคับแคบ
ความตระหนี่ถี่เหนียว และความติดยึดในวัตถุ นอกจากนี้สิ่งของที่เราแบ่งปันออกไป
ก็จะเป็นประโยชน์กับบุคคลหรือชุมชนโดยส่วนรวม

๒. รักษาศีล ก็เป็นบุญ (ศีลมัย)
เป็นการฝึกฝนที่จะ ลด ละ เลิก ความชั่ว ไม่ไปเบียดเบียนใคร มุ่งที่จะทำความดี
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น เป็นการหล่อเลี้ยงบ่มเพาะให้เกิดความดีงาม
และพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้ตกต่ำ

๓. เจริญภาวนา ก็เป็นบุญ (ภาวนามัย)
การภาวนา เป็นการพัฒนาจิตใจ และปัญญา ทำให้จิตสงบ ไม่มีกิเลส
ไม่มีเรื่องเศร้าหมอง เห็นคุณค่าสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง ผู้ที่ภาวนาอยู่เสมอ
ย่อมเป็นหลักประกันว่า จิตจะมีความสงบ ชีวิตมีความสุข คุณภาพชีวิตดีขึ้น สูงขึ้น

ศีล ๕ การรักษา ความหมายของศีล ๕

ศีล 5 มีความหมายคือ
๑. เว้นจากทำลายชีวิต
๒. เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
๓. เว้นจากประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นจากพูดเท็จ
๕. เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
อาราธนาศีล 5
(ถ้าคนเดียวเปลี่ยนจากคำว่า "มะยัง" เป็น "อะหัง" และ "ยาจามะ" เป็น "ยาจามิ")
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัติถายะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยันปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตยาถะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัติยาถะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน

จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน
คือการเห็นจิตในจิต หรือสติระลึกรู้เท่าทันหรือพิจารณาจิต (จิตตสังขารหรือมโนสังขารเช่นความคิด,ความนึก คือธรรมารมณ์ต่างๆ) รวมทั้งอาการของจิตหรือกริยาของจิต(เจตสิก) เช่นราคะ, โทสะ,โมหะ, ฟุ้งซ่าน ฯ. ที่เกิดเศร้าหมองหรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ คือ มีสติรู้จิตตสังขารตามสภาพเป็นจริงที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ(เห็นจิตในจิต)เช่น จิตมีราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่าจิตมี, จิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะก็รู้ว่าปราศจากราคะ โทสะ โมหะ, จิตหดหู่ก็รู้ชัดว่าหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน ทั้งของตนเองและของบุคคลอื่น อันเพื่อเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ และเห็นการเกิดๆดับๆว่าเป็นไปตามธรรมคือสภาวธรรมหรือธรรมชาติ ล้วนไม่เที่ยงของจิตตสังขารดังกล่าว เห็นจิตในจิต หรือ จิตเห็นจิต ถ้าเข้าใจขันธ์ ๕ จักเข้าใจได้ว่าหมายถึงการมีสติเห็นจิตตสังขารที่ บังเกิดขึ้น(จิตสังขารหรือมโนสังขารหรือความคิดในขันธ์๕นั่นเอง ล้วนเป็นสิ่งเดียวกัน) อันมีตามที่ท่านตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรดังนี้

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้งเก้าบรรพ

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้งเก้าบรรพ 

เมื่อจะพูดถึงเรื่องเวทนาก็จะต้องพูดเรื่องของจิตด้วย กล่าวคือจิตทำหน้าที่น้อมไปสู่อารมณ์ต่างๆ จึงมีชื่อทางบาลีในที่มากแห่งว่า "สังขาร" ส่วนเวทนา ก็ทำหน้าที่รับอารมณ์และเสวยอารมณ์ที่จิตคิดหรือน้อมไปหา และภายในจิตก็มี"วิญญาณ" ทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ และภายในเวทนาก็มี"สัญญา" ทำหน้าที่รวบรวมจดจำอารมณ์ ธรรมชาติ ๔ อย่างนี้ ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหมด ประดุจข่ายของใยแมงมุม

พิจารณาขันธ์ ส่วนเห็น จำ คิด รู้

รวม ใจของทุกกายให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายพระอรหัตละเอียด แล้วหยุดนิ่งไปที่ศูนย์กลางดวงธรรมกายมนุษย์ ตรงกลางดวงกำเนิดเดิมนั้นก็จะเห็นดวงกลมใสๆ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ ตั้งอยู่ในใจนั้นแหละ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆข้างใน ใสละเอียดกว่ากันตามลำเอียด เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ซึ่งเป็นธาตุละเอียดนี้เองที่ขยายส่วนหยาบออกมาเป็น ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ เป็นการทำงานระดับนามธรรม

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

 มีสติระลึกรู้กายในกาย
ซึ่งกายมี ๒ ส่วน คือกายนอกและกายใน

กายใน  เรียกว่า  กายปรุงแต่งขึ้นมา

กายนอก  คือ  รูปกายที่นั่งอยู่ตรงนี้ ที่มองเห็นกันอยู่ ที่มีอาการเจ็บปวด ป่วยไข้
และต้องหาอะไรมาเพิ่มเติมในสิ่งที่ขาด อันนี้กายในเรียกว่า  กายหยาบ

กายตัวนี้องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า  เป็นรังแห่งโรค
โรคอะไรบ้าง นั่นคือสิ่งใดที่เป็นโรคก็เป็นทุกข์ สิ่งใดที่กายมีก็เกิดความทุกข์

ความทุกข์เหล่านั้นก็คือพยาธิเข้ามาบีบคั้น ไม่ว่าจะมีตาก็เป็นโรคทางตา ตามืด ตามัว ตาฟางฝ้า ตาบอด ตาต้อ ตาเข้ ตาแดง  ตาเหล่ นั่นคือโรคในตา
โรคอีกส่วนหนึ่งคือผมแต่ก่อนมันดกดำ สวยงาม เงาวับ แต่พอขยับไปอายุ ๓๐-๔๐ ปีบ้าง
มันก็เปลี่ยนแปลง จากผมดำกลายเป็นหลากสี มีดำผสมกับขาว เรียกว่าหงอก ผมหงอกบอกตัวแล้วว่าเฒ่า
คนเฒ่านั่งซึมเศร้า โดยคนเฒ่าคนแก่จะนั่งซึมเศร้า
เมื่อลูกหลานมาจะยกมือกำบังมองดูและร้องถามว่าใครมาหา เพราะเป็นโรคของกายนอก  คือ กายรูปร่าง
อีกส่วนหนึ่งมาสู่ที่ฟัน ฟันนี้มันก็จะแน่นและทนดีเมื่ออายุยังน้อย
แต่พอบ่ายคล้อยลงมา ๕๐-๖๐ ปี มักจะโยกคลอน  บางคนฟันหายไปหมด ฟันมันหย่อน มันไม่ตึง
แต่ส่วนที่มันตึงคือ  หู  มันตึงเพราะไม่ได้ยิน แท้ที่จริงเขาพูดถูกคือมันหย่อนยาน มันหมดสมรรถภาพ
มันจึงหย่อนยานไป ตรงนี้มันเป็นโรคของกาย

การลดวิบากกรรม ๔๕ อย่าง

บางท่านว่าผลกรรมชั่ว ตัดได้บางท่านว่า ผลแห่งกรรมชั่วตัดไม่ได้บางท่านว่า บางอย่างได้ บางอย่าง ไม่ได้บางท่านว่า ตัดไม่ได้ ผ่อนหนักเป็นเบาได้ ลด หลบ หลีก พอได้ยังไงก็แล้วแต่ เชื่อ ไม่เชื่อ หรือ จะตัดได้หรือไม่ได้ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ
แน่นอนที่สุด ถ้าเราไม่ทำเหตุทำให้เกิดกรรมแบบนั้นอีก น่าจะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับเรา
ลอกมานะครับ ดูแล้วดีพอควร
การลดกรรม 45 อย่าง
1. ไม่มีลูก
กรรมจาก การทำร้ายลูกของสัตว์อื่น พรากสัตว์อื่นจากพ่อแม่หรือเคยข่มเหงลูกคนอื่น
ลดกรรม ด้วยการงดกินเนื้อสัตว์ทุกๆ 7 วัน ในทุกๆเดือนทำบุญปล่อยปลาลงน้ำ ปล่อยนกปล่อยกา ทำบุญบริจาคทานที่มูลนิธิสัตว์หรือมูลนิธิเด็กอ่อน
2. เจ็บป่วยบ่อย หรือเป็นโรคร้าย
กรรมจาก เคยทำทารุณกรรมต่อสัตว์
ลดกรรม ด้วยการทำบุญทำทานกับสัตว์อนาถาม ให้อาหารให้ความเมตตา ซื้อยาหรือบริจาคเงินที่โรงพยาบาลสงฆ์ ทำบุญปล่อยเต่า งดกินเนื้อสัตว์ตลอดชีวิต
3. ตาบอดหรือเป็นโรคตา
กรรมจาก เคยทำร้ายสัตว์ที่ดวงตา หรือไม่เคยทำบุญเติมน้ำมันตะเกียงในชาติก่อน หรือเคยทำลายไฟฟ้าของวัด ของที่สารธารณะ
ลดกรรม ซื้อโคมไฟ หลอดไฟถวายวัด ถวายเทียนห่อใหญ่ ถวายไฟฉาย เติมน้ำมันตะเกียงทุกวันพระ บริจาคเงินในกล่อง ซื้อน้ำมันเติมตะเกียงที่วัด
4. ถูกรถเฉี่ยวชน ถูกลูกหลง ถูกสัตว์กัดต่อย
กรรมจาก จากเคยเป็นคนพาลเกะกะเกเร หาเรื่องเดือดร้อนให้ผู้อื่น มักรังแกและสาปแช่งผู้อื่นอยู่เสมอ
ลดกรรม หมั่นพูดดี มีวาจาไพเราะ
5. สูญเสียคนใกล้ชิด
กรรมจาก เคยยิงนกตกปลา
ลดกรรม ทำบุญไถ่ชีวิตโค กระบือ งดกินเนื้อสัตว์อย่างน้อยสัก 1 อย่างชั่วชีวิต หรือกินเจทุกๆ 3 เดือน ทำบุญปล่อยนกปล่อยปลา
6.ถูกนินทา ถูกให้ร้าย
กรรมจาก เคยพูดจาให้เป็นเหตุให้คนอื่นเป็นทุกข์หรือเดือดร้อน
ลดกรรม พิมพ์หนังสือธรรมะแจกฟรี พูดดี พูดให้คนอื่นเกิดประโยชน์ พูดให้ผู้อื่นมีความสุข
7. มักเดือดร้อนเพราะไฟ ไฟไหม้บ้าน ไฟดูด
กรรมจาก เคยลบหลู่พระสงฆ์ และศาสนา
ลดกรรม ตักบาตรทุกวันพระ ทำบุญถวายสังฆทานทุกเดือน ฟังเทศน์ฟังธรรมทุกวันพระ หรือทุกๆเดือนในวันพระ ร่วมพิมพ์หนังสือธรรมะแจกจ่ายฟรี
8. ขาดบารมี ไร้ญาติขาดมิตร
กรรมจาก ไม่เคยไปร่วมงานบุญงานศพ
ลดกรรม ร่วมทำบุญงานศพ บริจาคเงิน หรือร่วมด้วยแรงกายช่วยงานอื่นๆในงานศพ เช่นทำอาหาร จัดดอกไม้
9. ตั้งหลักปักฐานไม่ได้ โยกย้ายบ่อย
กรรมจาก ไม่เคยร่วมทำบุญสร้างโบสถ์สร้างวิหาร แก่วัดวาอารามต่างๆ
ลดกรรม ร่วมทำบุญสร้างโบสถ์ สร้างหลังคาวิหาร ร่วมทำบุญฝังลูกนิมิต หมั่นไปไหว้ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ณ เมืองที่ตนอยู่อาศัย
10. มักถูกรังแก ถูกเบียดเบียน
กรรมจาก ไม่เคยบวช หรือทำบุญงานบวช
ลดกรรม บวช ด้วยจิตศรัทธาปวารถาอย่างบริสุทธิ์ไม่มีเจตนาอื่นแอบแฝงจะบวช 7 วัน หรือ 15 วัน 1 เดือน 1 พรรษา แล้วแต่จิตศรัทธา ถ้าเป็นสตรีจะบวชชีพราหมณ์ หรือถือศีล 8 ตามเวลาที่สะดวกและตั้งจิตศรัทธา หรือร่วมทำบุญงานบวชอย่างสม่ำเสมอเท่าที่จะทำได้
11.ไม่มีคนชื่นชมเอ็นดู ชาดเสน่ห์
กรรมจาก ไม่เคยถวายของหอม
ลดกรรม หมั่นทำบุญไหว้พระทุกวันพระ ถวายธูปหอม เทียน ดอกไม้สด พวงมาลัย ทองคำเปลว ประน้ำอบน้ำปรุง ประพฤติดี ปฏิบัติชอบต่อผู้อื่น คิดดี ทำดี พูดดี ให้ผู้อื่นได้ดี มิให้ร้ายผู้ใด
12. เป็นที่รังเกียจ มีกลิ่นปาก กลิ่นตัว
กรรมจาก ทำติเตียนดูแคลน ผู้ที่ชอบทำบุญทำทาน
ลดกรรม หมั่นทำบุญทำทานอย่างสม่ำเสมอ ฟังเทศน์มหาชาติทุกๆปี ชักชวนผู้อื่นให้ร่วมทำบุญหรือบริจาคทานเป็นการบอกบุญผู้อื่น พิมพ์หนังสือธรรมะจ่ายแจกฟรี
13. ไปไหนมาไหนลำบาก มีแต่อุปสรรค
กรรมจาก เคยทำลายหนทางสัญจรของวัด หรือของชาวบ้าน หรือทำให้ทางสัญจรสาธารณะได้รับความไม่สะดวก
ลดกรรม บริจาคทรัพย์หรือแรงกายช่วงสร้างสะพาน สร้างทางอันเป็นประโยชน์แก่วัด หรือชุมชนเล็กๆ ช่วยผู้คนยากไร้ให้ได้มี ยวดยานพาหนะหรือทางสัญจรที่สะดวก
14. เป็นคนรับใช้เขาร่ำไป
กรรมจาก เคยเนรคุณผู้ที่เคยมีพระคุณแก่ตน
ลดกรรม ตอบแทนผู้มีคุณด้วยความกตัญญญู ร่วมทำบุญสร้างพระพุทธรูป พระประธาน ทำทานทั้งกับคนและสัตว์
15. ขัดสน อดมื้อกินมื้อ
กรรมจาก เคยละเว้นการใส่บาตร ละเว้นการให้ทาน เมื่อมีคนยากไร้มาขอทานอาหารและน้ำ
ลดกรรม แบ่งปันอาหาร น้ำ เสื้อผ้า แก่คนยากไร้อนาถา แม้ไม่มีเงินก็แบ่งปันสิ่งของตามที่มี ตักบาตรทุกเช้าหรือทุกวันพระ
16. อาภัพคู่ ร้างคู่
กรรมจาก เคยผิดลูกผิดเมียเขา
ลดกรรม บวชพระ หรือบวชชีพราหมณ์ ร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพงานแต่งงานคู่บ่าวสาวที่ยากจน ถวายของเป็นคู่ เช่น แจกันคู่ เชิงเทียนคู่ หมอนคู่ เป็นต้น
17. ได้คู่ที่เลวร้าย ทำร้ายตนหรือทำให้เป็นทุกข์
กรรมจาก เคยข่มขืนเขาในชาติก่อน เคยทุบตีทำร้ายคู่
ลดกรรม บวชพระ หรือบวชชีพราหมณ์ ทำบุญปล่อยนกปล่อยปลา
18. อยู่โดดเดี่ยวยามบั้นปลาย
กรรมจาก เคยจับสัตว์ขัง
ลดกรรม ทำบุญปล่อยปลาลงน้ำ ปล่อยนกปล่อยกา ทำบุญทำทานแก่เด็กอนาถาและสัตว์อนาถา
19. รูปร่างหน้าไม่งดงาม
กรรมจาก ไม่เคยถวายดอกไม้ของหอม
ลดกรรม ถวายพวงมาลัยดอกไม้สด ดอกไม้หอม ทำบุญบริจาคดวงตา บริจาคร่างกายให้โรงพยาบาล
20. มักถูกโกง ถูกเบี้ยวเงิน
กรรมจาก เคยคดโกงผู้อื่น
ลดกรรม สละทรัพย์บริจาคร่วมการกุศลต่างๆ ทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน อุทิศส่วนกุศลแก่เจ้ากรรมนายเวรทุกๆเดือน
21. พิการ ร่างกายไม่สมประกอบ
กรรมจาก เคยทุบตีพ่อแม่ ด่าพ่อแม่ หรือทำร้ายพ่อแม่
ลดกรรม หมั่นทำบุญไหว้พระ ปล่อยนกปล่อยปลา ถือศีล 5 ศีล 8 เจริญภาวนา นั่งวิปัสสนากรรมฐาน
22. มีคดีความ
กรรมจาก เคยพบคนทุกข์ร้อนแล้วไม่ช่วยหรือพยายามหาทางช่วยเหลือ
ลดกรรม หมั่นทำบุญปล่อยนกปล่อยปลา นั่งสมาธิ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ถือศีล 8 ทุกๆ 3 เดือนๆละ 7 วัน
23. ไร้ที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
กรรมจาก ไม่สงเคราะห์คนอนาถา ที่มาขออาหาร ขอชายคาหลบฝน ไม่มีน้ำใจช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก
ลดกรรม ร่วมทำบุญซื้อกระเบี้องหลังคาโบสถ์ หมั่นไปกราบไหว้บูชาศาลหลักเมือง ทำบุญทำทานแก่สัตว์พิการหรือสัตว์จรจัด
24. จิตใจขุ่นมัว ดุดัน ขี้โมโห
กรรมจาก มักตะหนี่ในการทำบุญ
ลดกรรม สวดมนต์ไหว้พระ ทุกวันพระ ฝึกวิปัสสนากรรมฐาน ถือศีล 5 หรือศีล 8 ทุกๆ 3 เดือน บริจาคทาน แบ่งปันเงินทองหรือสิ่งของแก่ผู้ตกทุกข์ได้ยาก หรือร่วมทำบุญบริจาคทานกับมูลนิธิสถานสงเคราะห์ และวัดวาอารามต่างๆ
25. ไม่มีชื่อเสียง
กรรมจาก เคยติฉินนินทาทำให้ผู้อื่นเสียหาย
ลดกรรม ร่วมทำบุญสร้างหอระฆัง ร่วมทำบุญหล่อเทียนพรรษา ทำทานกับคนยากไร้ และสัตว์อนาถา
26. ไม่มีวาสนาบารมี
กรรมจาก ไม่เคยนับถือชื่นชมผู้นับถือธรรมมะ
ลดกรรม ทำบุญสร้างพระพุทธรูป ทำทานกับคน
27. มีลูกหลานไม่ดี เกเร ไม่เชื่อฟัง
กรรมจาก ทำแท้ง เคยทำร้ายคนใกล้ชิดมาก่อน และทำร้ายจิตใจครอบครัวในชาติก่อน
ลดกรรม บวชเณร โดยให้ลูกบวชหรือไปร่วมบวช จะทำให้กรรมน้อยลง ปฏิบัติธรรม อุทิศให้ลูกตนเอง
28. เจอแต่คนเอาเปรียบ
กรรมจาก เคยเบียดเบียนเงินพ่อแม่ไว้ในอดีตชาติ เคยโกงคนไว้ในอดีตชาติ ขโมยเงินครอบครัวมาใช้
ลดกรรม หมั่นยึดถือศีล 5 ให้มั่น ไม่ดื่มเหล้า ทำให้ขาดสติ โดนโกงง่าย หมั่นสวดมนต์ อธิษฐานบารมีด้านขอพรให้พบเจอคนดี ๆ เข้ามาในชีวิต
29. เกิดในสกุลต้อยต่ำ
กรรมจาก โอหัง อวดดี จิตใจคับแคบ
ลดกรรม ร่วมทำบุญสร้างวัด สร้างพระประธาน ทำบุญทำทานกับคนยากไร้ และสัตว์อนาถา พิมพ์หนังสือธรรมะแจกฟรี
30. ไร้สง่าราศี ขาดวาสนา
กรรมจาก เคยเมาสุระอาละวาด ระรานผู้อื่น
ลดกรรม นั่งสมาธิ ฝึกกรรมฐาน ทำทานกับคนอนาถา และสัตว์อนาถา ร่วมพิมพ์หนังสือธรรมะแจกฟรี
31. ไม่เจริญก้าวหน้า จิตใจเป็นทุกข์
กรรมจาก เคยชักจูงคนทำชั่ว
ลดกรรม ถือศีล 8 เป็นเวลา 7 วัน ทุกๆ 3 เดือน หมั่นทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน
32. จิตใจฟุ้งซ่าน เป็นทุกข์
กรรมจาก เคยริษยาผู้อื่น
ลดกรรม ทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน ปล่อยปลาลงน้ำ นั่งสมาธิ สวดมนต์บทคาถาพระชินบัญชร
33. ชีวิตตกต่ำ ทำสิ่งใดไม่เจริญ
กรรมจาก เคยทำแท้ง
ลดกรรม ปล่อยปลาลงน้ำทุกๆเดือน จนครบ 9 เดือน หรือ 1 ปีเต็ม ถวายสังฆทาน ทำบุญใส่บาตรเสมอ
34. เป็นเมียน้อย เมียเก็บ
กรรมจาก เคยผิดลูกผิดเมียเขามาก่อน ขืนใจเขาโดยไม่ยินยอม เคยอธิษฐานจิตร่วมกันมาว่ากี่ภพก็ขอให้ได้ใช้ชีวิตคู่ด้วยกัน
ลดกรรม ถวายธงคู่ ธูปคู่ เชิงเทียนคู่ หมอนคู่ อย่างใดก็ได้ อธิษฐานจิตขอให้ชีวิตคู่ที่ดีขึ้น บวชชีพราหมณ์ ปีละ 1 ครั้ง 3 วัน อุทิศให้เจ้ากรรมนายเวรที่เคยล่วงเกินให้ได้รับกุศลและเปิดทางให้ชีวิตคู่ดีขึ้น ร่วมเป็นเจ้าภาพงานแต่ง เพื่อชีวิตตนจะดีขึ้นและสมหวัง สวดมนต์ขอพรทุกวันเกิดด้านความรักให้สมหวังต่อไป ทำบุญสังฆทานสด ในวันเกิดตนเอง เดือนละครั้ง เพื่ออุทิศให้เจ้ากรรมนายเวรในอดีตชาติปัจจุบันชาติและวิญญาณที่ตามมาให้ได้รับกุศลและอโหสิกรรม
35. เป็นทุกข์เพราะคนในครอบครัว
กรรมจาก เคยลำเอียง ไร้คุณธรรมในด้านครอบครัวไว้ก่อน เคยเอารัดเอาเปรียบคนในครอบครัวและคนใกล้ชิดไว้ในชาติอดีตและชาติปัจจุบัน เคยทำให้ครอบครัวเขาแตกแยกในอดีตชาติ
ลดกรรม ต้องบวชชีพราหมณ์ เพราะเมื่อเกิดอีกภพชีวิตจะได้ดีมีชีวิตที่ดีขึ้น เพราะกุศลของการบวช ปฏิบัติธรรมทำให้เจ้ ากรรมนายเวรอโหสิกรรม และตนเองได้พบสิ่งที่มีกุศลมากขึ้น ยึดพรหมวิหาร 4 มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา จะทำให้ชีวิตมีความเมตตา และไม่ลำเอียงเอารัดเอาเปรียบคนใกล้ชิด ทำให้วิถีชีวิตมีคนนับถือและพ้นจากความทุกข์ในเรื่องญาติพี่น้องยุ่งเกี่ยวได้ นำพระคู่บ้านคู่เมืองเข้าสักการะที่บ้าน และสวดมนต์ขอพรให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข
36. เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
กรรมจาก ฆ่าสัตว์ ทรมานสัตว์ ทำร้ายคนไว้ในอดีตชาติและปัจจุบันชาติ
ลดกรรม ตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรในอดีตชาติปัจจุบันชาติ รวมถึงสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ได้กุศลและอโหสิกรรมซึ่งกันและกัน ปล่อยสัตว์ลงน้ำในวันเกิดตนเอง กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรได้รับและอโหสิกรรม ถวายยาเข้าวัด หรือช่วยเหลือคนป่วย
37. เป็นมะเร็ง
กรรมจาก รู้เห็นเป็นใจกับการทำแท้ง การทารุณสัตว์ หรือการทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่น
ลดกรรม ทำบุญใหญ่อุทิศให้เจ้ากรรมนายเวร และบวชชีพราหมณ์ 1 เดือน เพื่อส่งกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรม ทำบุญสร้างพระพุทธรูป สร้างโบสถ์หรือสร้างศาลาวัด ร่วมพิมพ์หนังสือธรรมะแจกฟรี หมั่นนั่งสมาธิ ฝึกกรรมฐาน
38. ค้าขายขาดทุน ทำงานไม่ก้าวหน้า
กรรมจาก เคยลบหลู่เจ้าที่เจ้าทาง
ลดกรรม หมั่นทำบุญใส่บาตร ถวายสังฆทาน ถวายเครื่องเซ่นสังเวย เจ้าที่-เจ้าทาง หมั่นสวดมนต์บทคาถาพระชินบัญชร
39. ด้อยปัญญา
กรรมจาก ฝั่กใฝ่อบายมุขในชาติก่อน หรือชักชวนคนไปทำชั่ว ดูแคลนหลักธรรมมะ
ลดกรรม พิมพ์หนังสือธรรมะจ่ายแจก ทำบุญทำทานกับโรงเรียนของเด็กพิการหรือตามูลนิธิต่างๆ
40. ตกงาน
กรรมจาก เคยกลั่นแกล้งผู้อื่นในเรื่องงาน หรือแย่งงานผู้อื่น
ลดกรรม หมั่นทำบุญทำทาน ร่วมงานบุญต่างๆ ปล่อยนกปล่อยปลา
41. ไม่มีโชคลาภ
กรรมจาก ไม่เคยสวดมนต์ไหว้พระ
ลดกรรม หมั่นทำบุญสวดมนต์ไหว้พระ ถวายธูป เทียน ดอกไม้สด พวงมาลัย และทองคำเปลว
42. เรียนไม่จบ การเรียนมีอุปสรรค
กรรมจาก ช่าติก่อนปฏิเสธการฟังเทศน์ฟังธรรม
ลดกรรม หมั่นเข้าวัด ร่วมงานบุญต่างๆ ฟังเทศน์ อ่านหนังสือธรรมะ
43. มีอาชีพต้อยต่ำที่ผู้คนดูแคลน
กรรมจาก ช่าติก่อนเคยบวชด้วยเจตนาไม่บริสุทธิ์ ไร้ความศรัทธา อาศัยผ้าเหลืองหากิน
ลดกรรม ถือศีล 5 ศีล 8 นั่งสมาธิ ฝึกกรรมฐาน ถวายสังฆทานทุกเดือน หรือทุก 3 เดือน
44. ครอบครัวยากจน
กรรมจาก ช่าติก่อนไม่เคยบริจาคทาน
ลดกรรม หมั่นทำบุญด้วยการบริจาคทาน ถ้ามีเงินไม่มากก็บริจาคเป็นสิ่งของ แรงกาย หรือน้ำใจ ต่อผู้ตกทุกข์ได้ยาก เช่น ไปช่วยอ่านหนังสือให้มูลนิธิคนตาบอด
45. เป็นทุกข์เพราะความรัก
กรรมจาก ชาติก่อนเจ้าชู้ หลอกผู้อื่นให้อกหัก
ลดกรรม ประพฤติดีปฏิบัติดีทั้งความคิด กาย วาจา ใจ ร่วมทำบุญงานแต่งงาน ทำสิ่งดีๆให้คนอื่นได้สมรักสมปรารถนา

กรรมในพระพุทธศาสนา

พุทธศาสนาเรามีเรื่องกรรม สอนเป็นพิเศษ ให้เชื่อเรื่องกรรม 
ซึ่งมันค่อนข้างจะเป็นวิทยาศาสตร์; คือให้มองที่นี่และเดี๋ยวนี้ 
มองเห็นการกระทำและเหตุของการกระทำ และ ผลของการ
กระทำ แล้วก็ปฏิบัติให้ถูก; นี้มันเป็นลักษณะของวิทยาศาสตร์ 
แต่ถ้าเราจะพูดไปในรูปอื่น หรือมนุษย์พวกอื่นเขาต้องการจะ
พูดไปในรูปอื่น เขาก็พูดให้เป็นเรื่องเชื่อพระเจ้า พอเชื่อพระเจ้า
มันก็ไม่ทำอย่างนั้นคือไม่ทำกรรมชั่วอย่างนั้นๆ; มันก็ได้เหมือน
กัน หรือแม้จะพูดไว้ในรูปไสยศาสตร์ มันก็ได้เหมือนกัน: เช่น
กล่าวในรูปความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ ทำอย่างนั้นไม่ได้ เป็นตาบู
อย่างนี้มันก็เป็นเรื่องกรรมด้วยเหมือนกัน; แต่มันโดย อาศัย 
motive อย่างอื่น เช่นพระเจ้าต้องการไม่ให้ทำหรือว่าตาบู อะไร
ก็ไม่รู้ ผีสางเทวดาอะไรก็ไม่รู้ ไม่ให้ทำ; อย่างนี้มันไม่ใช่หลัก
ของพระพุทธศาสนา.
ถ้าเมื่อถือตามหลักของพุทธศาสนา ก็ให้มีความรู้ลงไปตรงๆ 
ตรงการกระทำ ว่ามันเป็นอย่างไร เหตุให้กระทำมันเป็นอย่างไร 
แล้วผลของการกระทำนั้นมันจะเป็นอย่างไร นี่เรื่องกรรม อาศัย
ปัญญาเป็นรากฐาน ก็เลยแบ่งเป็น กรรมดี กรรมชั่ว กรรมที่
เหนือดีเหนือชั่ว มีอยู่ ๓ อย่าง.
กรรมชั่วมาก่อน มันมีเหตุชั่ว คือกิเลส, แล้วผลก็คือ ความทุกข์
หรืออบาย. กรรมดีก็มาจากเหตุที่ดี ความรู้จักดี, แล้วก็ได้ผลเป็น
ความสุขสบายตามที่ตนพอใจ: แต่ก็ยังต้องเสวยผลกรรมอยู่. เช่น
ไปสวรรค์ เป็นต้น นี้ก็บัญญัติไว้ว่าเป็นกรรมดี แต่เรื่องชั่ว เรื่องดีนี้ 
ก็ยังเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น. คนชั่วก็มีความทุกข์อย่าง
แบบคนชั่ว, คนดีก็มีความทุกข์อย่างแบบคนดี. เป็นคนดีในโลกนี้
ก็ยังมีความทุกข์อีกแบบหนึ่ง ตามแบบของคนดี; เช่นปัญหาที่เกิด
เนื่องมาจากความดี เกี่ยวกับความดีนี้มันก็ยังมีอยู่อีกมากเหมือนกัน. 
มีคนเยอะแยะฆ่าตัวตาย ทั้งๆที่มีชื่อเสียง มีความดี มีความร่ำรวย
มีอะไร; แต่มันมีความทุกข์อย่างอื่น เป็นเทวดาในสวรรค์ ก็มีความ
ทุกข์ตามแบบเทวดาในสวรรค์.
เพราะฉะนั้น เพียงแต่กรรมดีเฉยๆ นี้ยังไม่ใช่สูงสุด มันต้อง
เหนือชั่ว เหนือดี คือไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดโดยความเป็นตัวเรา 
หรือของเรา. กรรมที่เหนือชั่ว เหนือดี นี้แหละทำให้บรรลุ มรรค 
ผล นิพพาน. กรรมชั่วทำให้เวียนว่ายอยู่ในอบาย ในความทุกข์ 
กรรมดีทำให้เวียนว่ายอยู่ในทรัพย์สมบัติ เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือ
สวรรค์; ก็ยังเวียนว่ายอยู่นั่นเอง. ส่วนกรรมที่เหนือชั่วเหนือดีขึ้น
ไปอีก คือมีจิตใจเหนือสิ่งต่างๆ นี้ คือไม่เป็นทาสของสิ่งใด ไม่มี
ตัวเราสำหรับไปเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป; อย่างนี้เรียกว่า
บรรลุนิพพาน.
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นั้นมันก็ส่วนหนึ่ง; แล้วก็เป็นหลักของ
ศาสนาทั่วไป ไม่เฉพาะของพุทธศาสนา. แต่กรรมที่ ๓ ที่ว่า
สูงขึ้นไปด้วย การกระทำตามหลักพระพุทธศาสนาคือ ไม่ยึดมั่น
ถือมั่น, ปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ประการ แล้วไม่ยึดมั่นถือมั่น
นี้ มันจะไปสู่นิพพาน: มีผลเป็นความหมดความรู้สึกที่จะยึดมั่น 
เป็นตัวกู-ของกู นี้มันก็เย็นสบาย มีจิตใจที่สบาย ไม่มีทุกข์เลย. 
นี่เรียกว่าเหนือชั่ว เหนือดี, เรื่องกรรมมีอยู่ ๓ กรรม อย่างนี้ขอ
ให้เข้าใจ.
เมื่อเราทำชั่ว ก็ร้อนเหมือนกับตกนรกทั้งเป็น; เมื่อเราทำดี นี้
มันก็รู้สึกตื่นเต้นลิงโลด เหมือนกับถูกเชิด. แต่ถ้าเมื่อไรเราสงบ 
บางเวลา บางนาทีเรามีความสงบ ไม่รู้สึกเรื่องดี เรื่องชั่ว; นั้นคือ
ความพักผ่อนที่ถูกต้อง. ดังนั้นเราจึงไปในที่บางแห่ง เพื่อช่วยให้
จิตใจมันหยุด สงบ ว่างไปจากความรบกวนของชั่วๆ ดีๆ นี้เราก็
สบาย จะไปตากอากาศชายทะเล หรือว่ามาในที่อย่างนี้ อย่างที่
สวนโมกข์นี้ เพื่อให้ธรรมชาติเหล่านี้ มันแวดล้อมจิตใจ ให้มัน
ว่างจากความรบกวนของความชั่ว-ความดี; อย่างนี้ เป็นเรื่องของ
ความว่าง เป็นเรื่องที่เป็นไปทางนิพพาน.
ขอให้เข้าใจว่า ของขมมันก็ไม่ไหว ของหวานแรกๆ มันก็ดีอยู่ 
ถ้าให้กินเรื่อยไป ไม่ยอมให้หยุดมันก็ไม่ไหว มันจะต้องตาย; 
ผลสุดท้าย ก็ต้องมากินน้ำจืดๆ. ฉะนั้นให้เรารู้จักความที่มันจืด 
หรือมันไม่ดี ไม่ชั่ว ไม่หวาน ไม่ขมนี้เสียบ้าง. มันเป็นความสงบ 
ความพักผ่อน. ในเรื่องกรรมจะต้องรู้อย่างนี้: เมื่อถือหลักกรรม
ตามแบบนี้ ก็เป็นพุทธบริษัทที่สมบูรณ์ คือไปถึงนิพพานได้.

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

โอวาทปาติโมกข์ หัวใจของพระพุทธศาสนา

วันมาฆบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญ เดือนมาฆะคือเดือน 3 หรือเดือน 4 ในปีที่มีอธิกมาส เนื่องในโอกาสคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งปีนี้ตรงกับ วันที่ 4 มีนาคม
            นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ตั้งแต่วันเพ็ญ เดือน 6 ได้เริ่มออกสั่งสอน แก่ผู้แสวงหาทางหลุดพ้นจากทุกข์ สอนครั้งแรกคือ ไปโปรดปัญจวัคคีย์ เมื่อวันอาสาฬหบูชา คือวันเพ็ญเดือน 8 ในปีเดียวกับที่ตรัสรู้ จนถึงวันเพ็ญเดือน 3 ของปีถัดมา มีพระภิกษุที่เป็นพระสาวกขณะนั้นกว่า 1,300 รูป ซึ่งพระสาวกเหล่านี้ พระพุทธองค์ได้ทรงส่งออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่ทรงค้นพบไปยังเมืองต่างๆ ส่วนพระองค์ประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวัน หรือป่าไผ่ กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ที่พระเจ้าพิมพิสารถวาย และถือเป็นวัดแห่งแรกในพุทธศาสนา
      
       ในวันเพ็ญเดือน 3 ซึ่งห่างจากวันที่ตรัสรู้ 9 เดือน พระสาวกเหล่านี้ เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมายถึง 1,250 รูป จึงได้กำหนดเรียกวันนี้ว่า วันจาตุรงคสันนิบาต คือวันประชุมใหญ่ครั้งแรกและเป็นครั้งพิเศษ ด้วยเป็นวันที่ประกอบด้วยองค์ 4 คือ
            1 . พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย
            2. พระสาวกเหล่านี้ ล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือพระพุทธเจ้าทรงประทานอุปสมบทด้วยพระองค์เอง
            3.พระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6 ได้แก่ แสดงฤทธิ์ได้ ระลึกชาติได้ ตาทิพย์ หูทิพย์ กำหนดรู้ใจคนอื่นได้ และบรรลุ อาสวักขยญาณ คือญาณหยั่งรู้ธรรมที่เป็นที่สิ้นแห่งอาสวะหรือกิเลสทั้งหลาย
            4. วันนั้นเป็นวันเพ็ญ เดือนมาฆะ พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ ซึ่งเป็นเวลาที่ดีที่สุดคือ เป็นเวลากลางคืน อากาศไม่ร้อน ท้องฟ้าแจ่มใส ... เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสาม (มาฆปุรณมี) หรือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ในปีอธิกมาส